1/08/2555

ธนาคาร

ธนาคาร

ธนาคาร (อังกฤษ: bank) คือสถาบันรับฝากเงินจากสาธารณะชนทั่วไปและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วนำเงินที่รับฝากไปปล่อยให้หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลกู้และรับผลตอบแทนมาเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างจาก อธนาคาร (น็อนแบงค์) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร กล่าวคือไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ประชาชน แต่สามารถให้บริการทางการเงินเฉพาะบางประเภทที่ใกล้เคียงกัน อาทิในการให้สินเชื่อระยะสั้น


1. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศ ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดูแลระบบการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ธนาคารกลางไม่มุ่งกำไรอย่างเดียว มีความอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจกับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นและรัฐบาลเท่านั้น
2. การดำเนินงานของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น การพิมพ์ธนบัตร การให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินและหน่วยงานของภาครัฐบาล และการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์ในรูปของเงินสด เงินฝากในสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ และในกองคลังของหน่วยงานรัฐบาล การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ และสินทรัพย์ประเภทอื่น ส่วนหนี้สินนั้นประกอบด้วยเงินฝากจากสถาบันการเงิน ธนบัตร และตั๋วสัญญาใช้เงิน หนี้สินอื่น และทุนนั้นได้จากทุนประเดิมและทุนในรูปอื่น ๆ
3. ธนาคารกลางมีความสัมพันธ์กับสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น หน่วยงานของภาครัฐบาล ภาคเอกชน ตลอดจนองค์การการเงินระหว่างประเทศ
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์การของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยแบ่งส่วนงานออกเป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย และสาขาธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทสำคัญหลายประการทางด้านการเงินของประเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับธนาคารกลาง
1. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินระดับสูง ของประเทศ ที่มีอำนาจควบคุมและดูแลระบบการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ธนาคารกลางของประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ
2. ธนาคารกลางมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น โดยที่การดำเนินงานต้องคำนึงถึงเสถียรภาพและความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม และไม่มุ่งหวังแต่กำไรอย่างเดียว มีความอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นและรัฐบาลเท่านั้น
3. หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางส่วนใหญ่ประกอบด้วยการออกธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐ การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ การเป็นผู้ให้กู้แหล่งสุดท้าย การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน และการเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ

ความหมายและความเป็นมาของธนาคารกลาง
ธนาคารเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
ธนาคารกลางในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ

ลักษณะสำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. ธนาคารกลางดำเนินธุรกิจโดยไม่หวังกำไรแต่ฝ่ายเดียวแต่ต้องคำนึงถึงเหตุผลอื่นๆ ด้วย
2. ธนาคารกลางต้องมีอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายรัฐบาล
3. ธนาคารกลางดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่กับ หรือผ่านธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินและรัฐบาลเท่านั้น

หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. การออกพันธบัตร
2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ
3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย
5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร
6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน
7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ


ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีหน้าที่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น การเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล และของธนาคารพาณิชย์ และหน้าที่อื่น ๆ แม้ว่าบางแห่งอาจทำหน้าที่แตกต่างกับอีกแห่งหนึ่งก็ตาม แต่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น

การดำเนินงานของธนาคารกลาง
1. การดำเนินงานของธนาคารกลางในบางประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น การพิมพ์ธนบัตร การให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินและพนักงานของภาครัฐบาล และการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นต้น
2. ธนาคารกลางมีสินทรัพย์ในรูปของเงินสด เงินฝากในสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศและในกองคลังของรัฐบาล เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ และสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ และมีหนี้สินส่วนใหญ่ในรูปของเงินฝากจากสถาบันการเงิน ธนบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้สินอื่น ๆ ส่วนทุนนั้นประกอบด้วยทุนประเดิมและทุนในรูปอื่น ๆ การใช้จ่ายของธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ส่วนรายได้นั้น ได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนลด และรายได้อื่น ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับสถาบันอื่น
1. ธนาคารมีความสัมพันธ์อย่างมากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นในหลายด้าน เช่น การควบคุม การออกแบบและข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันเหล่านั้น การให้บริการและการตรวจสอบธนาคาร การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ส่วนสถาบันการเงินมีส่วนช่วยธนาคารกลางทางด้านการสะสมทุน การดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเงินของประเทศ
2. ธนาคารกลางเป็นสถาบันทางการเงินที่สำคัญของประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลมาก โดยการเป็นนายธนาคารของรัฐบาล เป็นผู้ให้การบริการด้านการโอนเงินแก่หน่วยงานของรัฐบาล เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ให้แก่ภาครัฐบาล และเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านนโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจ
3. ธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนในหลายด้าน เช่น การช่วยจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปสู่ภาคเอกชน การช่วยจัดหาเงินตราต่างประเทศให้แก่ภาคเอกชน การช่วยส่งเสริมให้มีการออกตราสารทางการเงิน การมีส่วนกำหนดนโยบายการเงินที่มีผลกระทบภาคเอกชน และการช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันทางด้านการเงิน เป็นต้น
4. ธนาคารกลางมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ โดยการเป็นผู้แทนของรัฐบาลในองค์การเหล่านั้น ร่วมประชุมและหามาตรการแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการค้ำประกัน และการช่วยระดมเงินทุนให้แก่หน่วยงานดังกล่าวด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับสถาบันการเงิน
บทบาทสำคัญของธนาคารกลางในการคุ้มครอง หรือพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นลูกค้าหรือเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชน์ หรือสถาบันการเงินอื่น ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องดำรงเงินสดสำรอง สินทรัพย์สภาพคล่องและกฎเกณฑ์อื่น ๆ ของการดำเนินงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาก เหตุการณ์ปัจจุบันที่เห็นได้ชัดได้แก่ การเสนอให้รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการของสถาบันการเงินบางแห่งที่มีฐานะไม่มั่นคง การเข้าไปมีหุ้นส่วนหรือเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาบางประการ เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับภาครัฐบาล
ธนาคารกลางทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของภาครัฐบาล โดยรับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายทางด้านต่างๆ ให้บริการทางด้านการโอนเงินจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคและเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาลด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลสามารถใช้ธนาคารกลางเป็นเครื่องมือในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างได้ผล

ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับภาคเอกชน

ธนาคารกลางเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เช่น
1. ช่วยจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน
2. ช่วยจัดหาเงินตราต่างประเทศ
3. ส่งเสริมให้มีการออกตราสารทางการเงินและการซื้อขายกัน
4. มีส่วนกำหนดนโยบายการเงิน
5. ช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันทางด้านการเงิน

ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ
ธนาคารกลาง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย มีส่วนช่วยเหลือการลงทุนภายในประเทศโดยการติดต่อหาแหล่งเงินกู้ เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารและให้การค้ำประกัน (บางกรณี) การกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น การกู้เงินจากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และกองทุนการเงินระหว่างประเทศสำหรับเงินกู้รัฐบาล

ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย

บริการของธนาคารพาณิชย์
# การรับฝากเงินประเภทต่างๆจากประชาชน และจ่ายให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของเงินตามพันธะผูกพัน
+ เงินฝากออมทรัพย์ มีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเก็บออม
+ เงินฝากแบบประจำ มีกำหนดแน่นอนให้เจ้าของเงินทวงถาม ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาและตามที่ธนาคารแต่ละที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแบ่งระยะเวลาการฝากเป็น 3, 6, และ 12 เดือน
+ เงินฝากกระแสรายวัน มีการจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินทวงถามได้ทุกเมื่อ ผู้ฝากจะได้สมุดเช็ค แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝาก
ฝากเผื่อเรียก การจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินเมื่อไรก็ตามที่ทวงถาม
+ เงินฝากประเภทอื่น ๆ เป็นเงินฝากที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของธนาคาร หรือกลยุทธ์ในด้านการส่งเสริมด้านการตลาดของธนาคาร
# บริการเงินกู้
+ การเบิกเงินเกินบัญชี
+ การใช้เงินกู้ระยะสั้น - ระยะยาว ต้องตกลงกับธนาคารโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันการชำระเงิน อาจทำได้โดยการผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
+ การรับซื้อลดตั๋ว เมื่อผู้ส่งตั๋วมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลา
+ การรับรองตั๋ว หมายถึง การรับรองจากธนาคารว่าผู้ทรงตั๋วจะได้รับเงินแน่นอน
+ การอาวัล หมายถึง การที่ธนาคารรับประกันการจ่ายเงินแทนเจ้าของตั๋วทั้งหมดหรือบางส่วน



# บริการด้านการต่างประเทศ
+ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
+ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดต่างประเทศ
+ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ:
- เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
- เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
# บริการอื่น ๆ
+ การใช้บริการบัตรเครดิต
+ การใช้บริการเงินด่วนทางเครื่องเอทีเอ็ม
+ การให้บริการคุ้มครองอุบัติเหตุ
+ การให้บริการเช่าตู้นิรภัย
+ การให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
+ การรับชำระภาษีเงินได้ประจำปี
+ การโอนเงินระหว่างธนาคารในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ
+ การเรียกเก็บเงิน เช็ค ดราฟต์ และตราสารทางการเงินที่ครบกำหนดให้แก่ลูกค้า
+ การบริการเช็คของขวัญ
+ การเป็นผู้จัดการมรดก
+ การให้คำแนะนำด้านการลงทุน
+ การให้ข้อมูลทางเครดิต
+ การออกใบค้ำประกันการซื้อขาย
+ การเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล



ธนาคารเฉพาะกิจ
ธนาคารเฉพาะกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น โดยทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์
ของการจัดตั้งนั้น ๆ โดยเฉพาะธนาคารเฉพาะกิจ



ข้อมูลจาก
anouchemistry.blogspot.com
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1066.0
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.google.com/imgres

CPU


หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (อังกฤษ: central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s
หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ
โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ:
+ อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
+ ตีความชุดคำสั่ง (decode)
+ ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
+ อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
+ เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) และจะเก็บข้อมูลระหว่างการคำนวณ ไว้ในระบบเรจิสเตอร์

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็นห้ากลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ โดยทำงานทีละคำสั่ง จากคำสั่งที่เรียงลำดับกันไว้ตอนที่เขียนโปรแกรม
+ Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
+ Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
+ Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
+ Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
+ Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่



การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)

โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไปเรื่อยๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออกจากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลเอง

การทำงานแบบขนานนี้สามารถทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกคือเพิ่มการทำงานแต่ละส่วนออกเป็นส่วนที่เหมือนกันในทุกกลุ่มแต่ให้ทำงานคนละสายชุดคำสั่งกัน วิธีการนี้เรียกว่าการทำหน่วยประมวลผลให้เป็น superscalar วิธีการนี้ทำให้มีหลายๆ ชุดคำสั่งทำงานได้ในขณะเดียวกัน โดยงานหนักของ superscalar อยู่ที่ส่วนดึงชุดคำสั่งออกมา (Dispatcher) เพราะส่วนนี้ต้องตัดสินใจได้ว่าชุดคำสั่งอันไหนสามารถทำการประมวลผลแบบขนานได้ หลักการนี้ก็เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) เช่นกัน

การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)

การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้ (TLP: Thread Level Parallelism) ในระดับ2





สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลางที่เป็นที่รู้จัก

คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว
+ สถาปัตยกรรม PowerPC 440 ของไอบีเอ็ม
+ สถาปัตยกรรม 8051 ของอินเทล
+ สถาปัตยกรรม 6800 ของโมโตโรลา
+ ใช้ในหน่วยควบคุม 68HC11 ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก
+ สถาปัตยกรรม ARM ของ ARM (เคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Acorn Computers)
+ ใช้ใน เครื่องเล่นเพลง ไอพ็อด, เครื่องเล่นเกม เกมบอยแอดวานซ์, และ พีดีเอ จำนวนมาก 0
+ หน่วยประมวลผล XScale และ StrongARM ของอินเทลนั้น ใช้สถาปัตยกรรม ARM

เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
+ สถาปัตยกรรม x86 ของอินเทล
+ สถาปัตยกรรม 6800, 6809, และ 68000 ของโมโตโรลา
+ สถาปัตยกรรม 6502 ของ MOS Technology
+ สถาปัตยกรรม Z80 ของ Zilog
+ สถาปัตยกรรม PowerPC ของไอบีเอ็ม (ในภายหลังคือพันธมิตร AIM alliance)
+ สถาปัตยกรรม AMD64 (หรือ x86-64) ของเอเอ็มดี
+ เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมแบบ x86 ของอินเทล

คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์คสเตชัน
+ สถาปัตยกรรม SPARC ของ SPARC International, Inc. (มีสมาชิกเช่น ซัน ไมโครซิสเต็มส์, ฟูจิตสึ, โตชิบา, เท็กซัสอินสทรูเมนส์) + หน่วยประมวลผล LEON2 ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลแบบเปิดเผยรหัส ใช้สถาปัตยกรรม SPARC
+ สถาปัตยกรรม POWER ของไอบีเอ็ม
+ สถาปัตยกรรม MIPS ของ MIPS Computer Systems Inc. ชุดของคำสั่งเครื่องของ MIPS เป็นเครื่องมือหลักในการสอน
+ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในหนังสือ Computer Organization and Design เขียนโดย เดวิด เอ. แพตเทอร์สัน และ จอห์น แอล.
+ เฮนเนสซี ISBN 1-55860-428-6 1998 (2nd. edition)
+ สถาปัตยกรรม PA-RISC ของเอชพี
+ สถาปัตยกรรม Alpha ของ DEC
+ สถาปัตยกรรม ARM ของ ARM (เคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Acorn Computers)

มินิคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม
+ สถาปัตยกรรม PDP-11 ของ DEC, และสถาปัตยกรรม VAX ที่ถูกพัฒนาต่อมา
+ สถาปัตยกรรม SuperH ของฮิตาชิ
+ สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์รุ่น UNIVAC 1100/2200 (ปัจจุบันสนับสนุนโดย Unisys ClearPath IX computers)
+ 1750A - คอมพิวเตอร์มาตรฐานของกองทัพสหรัฐ
+ AP-101 - คอมพิวเตอร์ของกระสวยอวกาศ

ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น

CPU ทำหน้าที่

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น



ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

แหล่งข้อมูล

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/cpu.html
http://www.google.co.th/imghp