ธนาคาร
ธนาคาร (อังกฤษ: bank) คือสถาบันรับฝากเงินจากสาธารณะชนทั่วไปและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วนำเงินที่รับฝากไปปล่อยให้หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลกู้และรับผลตอบแทนมาเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างจาก อธนาคาร (น็อนแบงค์) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร กล่าวคือไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ประชาชน แต่สามารถให้บริการทางการเงินเฉพาะบางประเภทที่ใกล้เคียงกัน อาทิในการให้สินเชื่อระยะสั้น
1. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศ ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดูแลระบบการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ธนาคารกลางไม่มุ่งกำไรอย่างเดียว มีความอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจกับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นและรัฐบาลเท่านั้น
2. การดำเนินงานของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น การพิมพ์ธนบัตร การให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินและหน่วยงานของภาครัฐบาล และการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์ในรูปของเงินสด เงินฝากในสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ และในกองคลังของหน่วยงานรัฐบาล การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ และสินทรัพย์ประเภทอื่น ส่วนหนี้สินนั้นประกอบด้วยเงินฝากจากสถาบันการเงิน ธนบัตร และตั๋วสัญญาใช้เงิน หนี้สินอื่น และทุนนั้นได้จากทุนประเดิมและทุนในรูปอื่น ๆ
3. ธนาคารกลางมีความสัมพันธ์กับสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น หน่วยงานของภาครัฐบาล ภาคเอกชน ตลอดจนองค์การการเงินระหว่างประเทศ
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์การของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยแบ่งส่วนงานออกเป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย และสาขาธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทสำคัญหลายประการทางด้านการเงินของประเทศ
แนวคิดเกี่ยวกับธนาคารกลาง
1. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินระดับสูง ของประเทศ ที่มีอำนาจควบคุมและดูแลระบบการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ธนาคารกลางของประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ
2. ธนาคารกลางมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น โดยที่การดำเนินงานต้องคำนึงถึงเสถียรภาพและความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม และไม่มุ่งหวังแต่กำไรอย่างเดียว มีความอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นและรัฐบาลเท่านั้น
3. หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางส่วนใหญ่ประกอบด้วยการออกธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐ การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ การเป็นผู้ให้กู้แหล่งสุดท้าย การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน และการเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ
ความหมายและความเป็นมาของธนาคารกลาง
ธนาคารเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
ธนาคารกลางในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ
ลักษณะสำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. ธนาคารกลางดำเนินธุรกิจโดยไม่หวังกำไรแต่ฝ่ายเดียวแต่ต้องคำนึงถึงเหตุผลอื่นๆ ด้วย
2. ธนาคารกลางต้องมีอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายรัฐบาล
3. ธนาคารกลางดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่กับ หรือผ่านธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินและรัฐบาลเท่านั้น
หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. การออกพันธบัตร
2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ
3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย
5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร
6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน
7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ
ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีหน้าที่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น การเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล และของธนาคารพาณิชย์ และหน้าที่อื่น ๆ แม้ว่าบางแห่งอาจทำหน้าที่แตกต่างกับอีกแห่งหนึ่งก็ตาม แต่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น
การดำเนินงานของธนาคารกลาง
1. การดำเนินงานของธนาคารกลางในบางประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น การพิมพ์ธนบัตร การให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินและพนักงานของภาครัฐบาล และการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นต้น
2. ธนาคารกลางมีสินทรัพย์ในรูปของเงินสด เงินฝากในสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศและในกองคลังของรัฐบาล เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ และสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ และมีหนี้สินส่วนใหญ่ในรูปของเงินฝากจากสถาบันการเงิน ธนบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้สินอื่น ๆ ส่วนทุนนั้นประกอบด้วยทุนประเดิมและทุนในรูปอื่น ๆ การใช้จ่ายของธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ส่วนรายได้นั้น ได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนลด และรายได้อื่น ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับสถาบันอื่น
1. ธนาคารมีความสัมพันธ์อย่างมากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นในหลายด้าน เช่น การควบคุม การออกแบบและข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันเหล่านั้น การให้บริการและการตรวจสอบธนาคาร การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ส่วนสถาบันการเงินมีส่วนช่วยธนาคารกลางทางด้านการสะสมทุน การดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเงินของประเทศ
2. ธนาคารกลางเป็นสถาบันทางการเงินที่สำคัญของประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลมาก โดยการเป็นนายธนาคารของรัฐบาล เป็นผู้ให้การบริการด้านการโอนเงินแก่หน่วยงานของรัฐบาล เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ให้แก่ภาครัฐบาล และเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านนโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจ
3. ธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนในหลายด้าน เช่น การช่วยจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปสู่ภาคเอกชน การช่วยจัดหาเงินตราต่างประเทศให้แก่ภาคเอกชน การช่วยส่งเสริมให้มีการออกตราสารทางการเงิน การมีส่วนกำหนดนโยบายการเงินที่มีผลกระทบภาคเอกชน และการช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันทางด้านการเงิน เป็นต้น
4. ธนาคารกลางมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ โดยการเป็นผู้แทนของรัฐบาลในองค์การเหล่านั้น ร่วมประชุมและหามาตรการแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการค้ำประกัน และการช่วยระดมเงินทุนให้แก่หน่วยงานดังกล่าวด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับสถาบันการเงิน
บทบาทสำคัญของธนาคารกลางในการคุ้มครอง หรือพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นลูกค้าหรือเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชน์ หรือสถาบันการเงินอื่น ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องดำรงเงินสดสำรอง สินทรัพย์สภาพคล่องและกฎเกณฑ์อื่น ๆ ของการดำเนินงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาก เหตุการณ์ปัจจุบันที่เห็นได้ชัดได้แก่ การเสนอให้รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการของสถาบันการเงินบางแห่งที่มีฐานะไม่มั่นคง การเข้าไปมีหุ้นส่วนหรือเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาบางประการ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับภาครัฐบาล
ธนาคารกลางทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของภาครัฐบาล โดยรับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายทางด้านต่างๆ ให้บริการทางด้านการโอนเงินจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคและเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาลด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลสามารถใช้ธนาคารกลางเป็นเครื่องมือในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างได้ผล
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับภาคเอกชน
ธนาคารกลางเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เช่น
1. ช่วยจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน
2. ช่วยจัดหาเงินตราต่างประเทศ
3. ส่งเสริมให้มีการออกตราสารทางการเงินและการซื้อขายกัน
4. มีส่วนกำหนดนโยบายการเงิน
5. ช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันทางด้านการเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ
ธนาคารกลาง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย มีส่วนช่วยเหลือการลงทุนภายในประเทศโดยการติดต่อหาแหล่งเงินกู้ เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารและให้การค้ำประกัน (บางกรณี) การกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น การกู้เงินจากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และกองทุนการเงินระหว่างประเทศสำหรับเงินกู้รัฐบาล
ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย
บริการของธนาคารพาณิชย์
# การรับฝากเงินประเภทต่างๆจากประชาชน และจ่ายให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของเงินตามพันธะผูกพัน
+ เงินฝากออมทรัพย์ มีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเก็บออม
+ เงินฝากแบบประจำ มีกำหนดแน่นอนให้เจ้าของเงินทวงถาม ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาและตามที่ธนาคารแต่ละที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแบ่งระยะเวลาการฝากเป็น 3, 6, และ 12 เดือน
+ เงินฝากกระแสรายวัน มีการจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินทวงถามได้ทุกเมื่อ ผู้ฝากจะได้สมุดเช็ค แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝาก
ฝากเผื่อเรียก การจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินเมื่อไรก็ตามที่ทวงถาม
+ เงินฝากประเภทอื่น ๆ เป็นเงินฝากที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของธนาคาร หรือกลยุทธ์ในด้านการส่งเสริมด้านการตลาดของธนาคาร
# บริการเงินกู้
+ การเบิกเงินเกินบัญชี
+ การใช้เงินกู้ระยะสั้น - ระยะยาว ต้องตกลงกับธนาคารโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันการชำระเงิน อาจทำได้โดยการผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
+ การรับซื้อลดตั๋ว เมื่อผู้ส่งตั๋วมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลา
+ การรับรองตั๋ว หมายถึง การรับรองจากธนาคารว่าผู้ทรงตั๋วจะได้รับเงินแน่นอน
+ การอาวัล หมายถึง การที่ธนาคารรับประกันการจ่ายเงินแทนเจ้าของตั๋วทั้งหมดหรือบางส่วน
# บริการด้านการต่างประเทศ
+ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
+ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดต่างประเทศ
+ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ:
- เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
- เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
# บริการอื่น ๆ
+ การใช้บริการบัตรเครดิต
+ การใช้บริการเงินด่วนทางเครื่องเอทีเอ็ม
+ การให้บริการคุ้มครองอุบัติเหตุ
+ การให้บริการเช่าตู้นิรภัย
+ การให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
+ การรับชำระภาษีเงินได้ประจำปี
+ การโอนเงินระหว่างธนาคารในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ
+ การเรียกเก็บเงิน เช็ค ดราฟต์ และตราสารทางการเงินที่ครบกำหนดให้แก่ลูกค้า
+ การบริการเช็คของขวัญ
+ การเป็นผู้จัดการมรดก
+ การให้คำแนะนำด้านการลงทุน
+ การให้ข้อมูลทางเครดิต
+ การออกใบค้ำประกันการซื้อขาย
+ การเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล
ธนาคารเฉพาะกิจ
ธนาคารเฉพาะกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น โดยทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์
ของการจัดตั้งนั้น ๆ โดยเฉพาะธนาคารเฉพาะกิจ
ข้อมูลจาก
anouchemistry.blogspot.com
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1066.0
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.google.com/imgres
ธนาคาร (อังกฤษ: bank) คือสถาบันรับฝากเงินจากสาธารณะชนทั่วไปและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วนำเงินที่รับฝากไปปล่อยให้หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลกู้และรับผลตอบแทนมาเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างจาก อธนาคาร (น็อนแบงค์) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร กล่าวคือไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ประชาชน แต่สามารถให้บริการทางการเงินเฉพาะบางประเภทที่ใกล้เคียงกัน อาทิในการให้สินเชื่อระยะสั้น
1. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศ ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดูแลระบบการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ธนาคารกลางไม่มุ่งกำไรอย่างเดียว มีความอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจกับธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นและรัฐบาลเท่านั้น
2. การดำเนินงานของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น การพิมพ์ธนบัตร การให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินและหน่วยงานของภาครัฐบาล และการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์ในรูปของเงินสด เงินฝากในสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ และในกองคลังของหน่วยงานรัฐบาล การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ และสินทรัพย์ประเภทอื่น ส่วนหนี้สินนั้นประกอบด้วยเงินฝากจากสถาบันการเงิน ธนบัตร และตั๋วสัญญาใช้เงิน หนี้สินอื่น และทุนนั้นได้จากทุนประเดิมและทุนในรูปอื่น ๆ
3. ธนาคารกลางมีความสัมพันธ์กับสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น หน่วยงานของภาครัฐบาล ภาคเอกชน ตลอดจนองค์การการเงินระหว่างประเทศ
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์การของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยแบ่งส่วนงานออกเป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย และสาขาธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทสำคัญหลายประการทางด้านการเงินของประเทศ
แนวคิดเกี่ยวกับธนาคารกลาง
1. ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินระดับสูง ของประเทศ ที่มีอำนาจควบคุมและดูแลระบบการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ธนาคารกลางของประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ
2. ธนาคารกลางมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น โดยที่การดำเนินงานต้องคำนึงถึงเสถียรภาพและความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม และไม่มุ่งหวังแต่กำไรอย่างเดียว มีความอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นและรัฐบาลเท่านั้น
3. หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางส่วนใหญ่ประกอบด้วยการออกธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐ การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ การเป็นผู้ให้กู้แหล่งสุดท้าย การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน และการเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ
ความหมายและความเป็นมาของธนาคารกลาง
ธนาคารเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
ธนาคารกลางในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ
ลักษณะสำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. ธนาคารกลางดำเนินธุรกิจโดยไม่หวังกำไรแต่ฝ่ายเดียวแต่ต้องคำนึงถึงเหตุผลอื่นๆ ด้วย
2. ธนาคารกลางต้องมีอิสระในการดำเนินงานภายในกรอบนโยบายรัฐบาล
3. ธนาคารกลางดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่กับ หรือผ่านธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินและรัฐบาลเท่านั้น
หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. การออกพันธบัตร
2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ
3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย
5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร
6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน
7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ
ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีหน้าที่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น การเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล และของธนาคารพาณิชย์ และหน้าที่อื่น ๆ แม้ว่าบางแห่งอาจทำหน้าที่แตกต่างกับอีกแห่งหนึ่งก็ตาม แต่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น
การดำเนินงานของธนาคารกลาง
1. การดำเนินงานของธนาคารกลางในบางประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น การพิมพ์ธนบัตร การให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินและพนักงานของภาครัฐบาล และการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นต้น
2. ธนาคารกลางมีสินทรัพย์ในรูปของเงินสด เงินฝากในสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศและในกองคลังของรัฐบาล เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ และสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ และมีหนี้สินส่วนใหญ่ในรูปของเงินฝากจากสถาบันการเงิน ธนบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้สินอื่น ๆ ส่วนทุนนั้นประกอบด้วยทุนประเดิมและทุนในรูปอื่น ๆ การใช้จ่ายของธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ส่วนรายได้นั้น ได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนลด และรายได้อื่น ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับสถาบันอื่น
1. ธนาคารมีความสัมพันธ์อย่างมากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นในหลายด้าน เช่น การควบคุม การออกแบบและข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันเหล่านั้น การให้บริการและการตรวจสอบธนาคาร การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ส่วนสถาบันการเงินมีส่วนช่วยธนาคารกลางทางด้านการสะสมทุน การดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเงินของประเทศ
2. ธนาคารกลางเป็นสถาบันทางการเงินที่สำคัญของประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐบาลมาก โดยการเป็นนายธนาคารของรัฐบาล เป็นผู้ให้การบริการด้านการโอนเงินแก่หน่วยงานของรัฐบาล เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ให้แก่ภาครัฐบาล และเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านนโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจ
3. ธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนในหลายด้าน เช่น การช่วยจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปสู่ภาคเอกชน การช่วยจัดหาเงินตราต่างประเทศให้แก่ภาคเอกชน การช่วยส่งเสริมให้มีการออกตราสารทางการเงิน การมีส่วนกำหนดนโยบายการเงินที่มีผลกระทบภาคเอกชน และการช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันทางด้านการเงิน เป็นต้น
4. ธนาคารกลางมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ โดยการเป็นผู้แทนของรัฐบาลในองค์การเหล่านั้น ร่วมประชุมและหามาตรการแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการค้ำประกัน และการช่วยระดมเงินทุนให้แก่หน่วยงานดังกล่าวด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับสถาบันการเงิน
บทบาทสำคัญของธนาคารกลางในการคุ้มครอง หรือพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นลูกค้าหรือเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชน์ หรือสถาบันการเงินอื่น ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องดำรงเงินสดสำรอง สินทรัพย์สภาพคล่องและกฎเกณฑ์อื่น ๆ ของการดำเนินงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาก เหตุการณ์ปัจจุบันที่เห็นได้ชัดได้แก่ การเสนอให้รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการของสถาบันการเงินบางแห่งที่มีฐานะไม่มั่นคง การเข้าไปมีหุ้นส่วนหรือเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาบางประการ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับภาครัฐบาล
ธนาคารกลางทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของภาครัฐบาล โดยรับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายทางด้านต่างๆ ให้บริการทางด้านการโอนเงินจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคและเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาลด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลสามารถใช้ธนาคารกลางเป็นเครื่องมือในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างได้ผล
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับภาคเอกชน
ธนาคารกลางเกี่ยวข้องกับภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เช่น
1. ช่วยจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน
2. ช่วยจัดหาเงินตราต่างประเทศ
3. ส่งเสริมให้มีการออกตราสารทางการเงินและการซื้อขายกัน
4. มีส่วนกำหนดนโยบายการเงิน
5. ช่วยสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันทางด้านการเงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกลางกับองค์การการเงินระหว่างประเทศ
ธนาคารกลาง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย มีส่วนช่วยเหลือการลงทุนภายในประเทศโดยการติดต่อหาแหล่งเงินกู้ เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารและให้การค้ำประกัน (บางกรณี) การกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น การกู้เงินจากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และกองทุนการเงินระหว่างประเทศสำหรับเงินกู้รัฐบาล
ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย
บริการของธนาคารพาณิชย์
# การรับฝากเงินประเภทต่างๆจากประชาชน และจ่ายให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของเงินตามพันธะผูกพัน
+ เงินฝากออมทรัพย์ มีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเก็บออม
+ เงินฝากแบบประจำ มีกำหนดแน่นอนให้เจ้าของเงินทวงถาม ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาและตามที่ธนาคารแต่ละที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแบ่งระยะเวลาการฝากเป็น 3, 6, และ 12 เดือน
+ เงินฝากกระแสรายวัน มีการจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินทวงถามได้ทุกเมื่อ ผู้ฝากจะได้สมุดเช็ค แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝาก
ฝากเผื่อเรียก การจ่ายเงินแก่เจ้าของเงินเมื่อไรก็ตามที่ทวงถาม
+ เงินฝากประเภทอื่น ๆ เป็นเงินฝากที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของธนาคาร หรือกลยุทธ์ในด้านการส่งเสริมด้านการตลาดของธนาคาร
# บริการเงินกู้
+ การเบิกเงินเกินบัญชี
+ การใช้เงินกู้ระยะสั้น - ระยะยาว ต้องตกลงกับธนาคารโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันการชำระเงิน อาจทำได้โดยการผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
+ การรับซื้อลดตั๋ว เมื่อผู้ส่งตั๋วมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลา
+ การรับรองตั๋ว หมายถึง การรับรองจากธนาคารว่าผู้ทรงตั๋วจะได้รับเงินแน่นอน
+ การอาวัล หมายถึง การที่ธนาคารรับประกันการจ่ายเงินแทนเจ้าของตั๋วทั้งหมดหรือบางส่วน
# บริการด้านการต่างประเทศ
+ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
+ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดต่างประเทศ
+ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ:
- เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
- เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
# บริการอื่น ๆ
+ การใช้บริการบัตรเครดิต
+ การใช้บริการเงินด่วนทางเครื่องเอทีเอ็ม
+ การให้บริการคุ้มครองอุบัติเหตุ
+ การให้บริการเช่าตู้นิรภัย
+ การให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
+ การรับชำระภาษีเงินได้ประจำปี
+ การโอนเงินระหว่างธนาคารในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ
+ การเรียกเก็บเงิน เช็ค ดราฟต์ และตราสารทางการเงินที่ครบกำหนดให้แก่ลูกค้า
+ การบริการเช็คของขวัญ
+ การเป็นผู้จัดการมรดก
+ การให้คำแนะนำด้านการลงทุน
+ การให้ข้อมูลทางเครดิต
+ การออกใบค้ำประกันการซื้อขาย
+ การเป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล
ธนาคารเฉพาะกิจ
ธนาคารเฉพาะกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น โดยทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์
ของการจัดตั้งนั้น ๆ โดยเฉพาะธนาคารเฉพาะกิจ
ข้อมูลจาก
anouchemistry.blogspot.com
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1066.0
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.google.com/imgres