11/22/2553

สารCFc








สาร CFC คือ


       คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์


       สาร CFC มีผลเสียมากกว่าผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon; CFC) เป็นกลุ่มของสารเคมีสังเคราะห์ที่มีคลอรีนผสมอยู่ ซึ่งใช้ทางอุตสาหกรรมหลายอย่าง สารเหล่านี้ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยาและใช้กับตู้เย็น (เป็นตัวทำละลายที่ใช้ทำความสะอาด) และถังดับไฟ แม้ดูเหมือนว่ามันมีประโยชน์ แต่คุณสมบัติที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยาของมันมีบทบาทในการทำลายชั้นโอโซน (ozone layer) ของโลกเรา ชั้นโอโซน (ozone layer) อยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) ซึ่งมีความสูงอยู่ระหว่าง 15-40 กิโลเมตร (9.3-25 ไมล์) ชั้นโอโซนเป็นตัวกรองรังสีอัลตร้าไวโอเลต (ultraviolet, UV) ที่มีอันตรายต่อเซลล์ แม้ว่ายิ่งมันอยู่สูงมากขึ้น แต่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์มักจะอุ่นขึ้นและมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้น บรรยากาศที่อยู่ต่ำกว่า อากาศและสารเคมีต่างๆ จะผสมกันอย่างช้าๆ จากชั้นที่อยู่ต่ำไปยังชั้น(สตราโตสเฟียร์)ที่อยู่สูงขึ้นไป





       คลอรีน ตามธรรมชาติมักจะอยู่ในรูปที่สามารถทำปฏิกิริยาและสามารถละลายได้ในชั้นสตรา โตสเฟียร์ที่อยู่ต่ำๆ และถูกน้ำฝนชะล้างได้ง่ายอีกด้วย แต่ถ้าคลอรีนอยู่ในชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทำปฏิกิริยากับโอโซนอีกแบบหนึ่งคือ มันจะทำลายโมเลกุลของโอโซน หลังจากนั้นคลอรีนจะถูกปลดปล่อยออกมา และสามารถกลับมาทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซนโมเลกุลใหม่ได้อีกครั้ง ด้วยวิธีนี้ คลอรีนทำตัวเป็นสารเร่งปฏิกิริยา โดยคลอรีนจะร่วมทำปฏิกิริยาและเพิ่มความเร็วของปฏิกิริยาทำลายชั้นโอโซนนั่น เอง จากการคำนวณพบว่า โมเลกุลคลอรีนที่พร้อมทำปฏิริกิยาหนึ่งโมเลกุลสามารถทำลายโมเลกุลโอโซนได้ ถึง 10,000 โมเลกุลก่อนที่มันถูกปลดปล่อยออกจากชั้นสตราโตสเฟียร์ รูโหว่ในชั้นโอโซน (ozone hole) เหนือทวีปแอนตาร์กติกา (Antartica) บริเวณขั้วโลกใต้ส่วนใหญ่เกิดมาจากคลอรีนที่พร้อมทำปฏิกิริยาและธาตุโบรมีน (bromine) เนื่องจากสาร CFC เป็นสารที่ไม่ชอบทำปฏิกิริยา (เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างมากในการใช้เป็นสารเคมีทางด้านอุตสาหกรรม) มันจึงสามารถล่องลอยขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์โดยที่โมเลกุลไม่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เหมือนกับสารประกอบคลอรีนทั่วไป ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ การแผ่รังสี UV จะมีมาก ซึ่งมีผลทำให้โมเลกุลของสาร CFC แตกออกกลายเป็นคลอรีนภายในโอโซน ซึ่งมีอันตรายมากที่สุด การใช้สาร CFC มีความเกี่ยวข้องกับการทำลายชั้นโอโซนอย่างเด่นชัด และประเทศต่างๆ ได้ร่วมทำสนธิสัญญาต่างๆ ในการลดการใช้สารนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ การแทนที่การใช้ CFC มีหลายรูปแบบคือ ในตู้เย็น มีการพัฒนาสาร HCFC ซึ่งมีโฮโดรเจนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งสารนี้จะแตกตัวทันทีในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ด้านล่าง และทำให้คลอรีนลอยขึ้นไปยังชั้นโอโซนน้อยลง สำหรับการทำความสะอาดในตู้เย็น ในปัจจุบันได้มีหลายกระบวนการที่ใช้ supercritical carbon dioxide หรือตัวทำละลายที่มีกรดซิตริกเป็นหลัก ซึ่งไม่มีอันตรายต่อชั้นโอโซน เราพบว่ามีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยเมื่อมีการลดปริมาณการใช้สาร CFC ลง ข้อโต้แย้งในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีเมธิลโบรไมด์ (methyl bromide) ซึ่งมีการใช้ตามพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ แต่ปริมาณการใช้ก็เริ่มลดลงแล้ว โบรมีน (bromine) ที่ถูกปลดปล่อยมาจากสารเมธิลโบรไมด์นั้นสามารถเพิ่มความเสียหายของชั้นโอโซน ได้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับคลอรีน หลายประเทศจึงมีการรนณรงค์เปลี่ยนแปลงการใช้สารเหล่านี้ขึ้น




     ปัจจุบันมีการรณรงค์ไม่ให้นำสารนี้มาใช้ในอุตสาหกรรมเนื่องจากมีอันตรายต่อ ชั้นบรรยากาศของโลก เมื่อก่อนมีการนำสารตัวนี้มาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการทำความเย็น / ในขวดสเปรย์ แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นสารต้องห้ามตัวหนึ่งไปแล้ว
ข้อมูล

www.tpfria.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น